วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม


เทวินทร์ขอเหนี่ยกลาง.  นักเรียนชายฝักใฝ่ความรุนแรง.  สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2556,
ระพิพัฒน์ ศรีมาลา.  (2547).  ปัจจัยและความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาต่อการใช้ความรุนแรงในกรุงเทพมหานคร.  สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2556, จาก http://www.prachatai.com/journal/2006/06/8744
วิโรจน์ อารีย์กุล.  (2550).  ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นและสื่อ.  สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556,
สมชาย เจริญอำนวยสุข.  (2548).  ไขปริศนาปัญหาเด็กติดเกมส์.  สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556,               จาก http://www.srisangworn.go.th/modules.php?op=modioad&name=News&file=article&sid=314
สุมนทิพย์ใจเหล็ก.  ความรุนแรงในครอบครัวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน.                สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.geocities.com/sumontip2003/article1.htm


ข้อเสนอแนะ


ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้
            ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการทเลาะวิวาทของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ดังนี้
    1.จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 80.0 อยู่ด้วย บิดาหรือมารดา คิดเป็นร้อยละ13.33 สภาพครอบครัวใกล้ชิดกับผู้อาศัยและในครอบครัวที่การทะเลาะวิวาท มากที่สุด (= 7.33) ดังนั้นควรมีการแก้ไขในด้านสภาพครอบครัว คือ
1.1.สมาชิกในครอบครัวต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีความเข้าใจถึงธรรมชาติของวัยรุ่นสามารถให้คำปรึกษาได้เมื่อเด็กมีปัญหา และคอยเอาใส่สอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เมื่อเด็กมีทัศนคติที่ดีต่อสถาบันครอบครัวย่อมเป็นพลังที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจของเด็กไว้
1.2.เมื่อนักเรียนมีปัญหาการทะเลาะวิวาท บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ควรให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และติดตามผลการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
    2.จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่โรงเรียนให้ความสำคัญบรรยากาศทางวิชาการ มากที่สุด              (= 8.00) และมีการทะเลาะวิวาทกันค่อนข้างมากจึงควรมีมาตรการป้องกัน คือ
2.1สถานศึกษาประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจถึงโทษทางอาญาของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท และให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2.2มีการลงโทษนักเรียนที่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
            2.3ครู อาจารย์ เมื่อทราบว่านักเรียนถูกทำร้าย ควรเข้าไปให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกัน                                                          การแก้แค้น



    3.จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีนักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทมากกว่า 3 ครั้ง ถึงร้อยละ 16.66 และมีกาได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จากการทะเลาะวิวาทถึงร้อยละ 96.67 ซึ่งอาจเนื่องมาจากมาตรการในการปฏิบัติของครูฝ่ายปกครองไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องแก้ไขโดย
            3.1ครูฝ่ายปกครองต้องกวดขันดูแลปัญหาการทะเลาะวิวาทอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
            3.2การทะเลาะวิวาทมีความรุนแรงขึ้น และนักเรียนใกล้เคียงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จึงต้องมีการลงโทษผู้กระทำผิดตามที่กฎกำหนดไว้อย่างเฉียบขาด
            3.3ในกรณีที่มีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทแต่ไม่มีผู้ได้รีบบาดเจ็บ ควรจะมีมาตรการในการลงโทษด้วยการนำเด็กที่ร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาทไปทำกิจกรรมร่วมกัน หรือฝึกอบรมร่วมกัน หรือให้ทำงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมร่วมกัน
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
            1.ศึกษาวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุของการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเพื่อนำมาแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทต่างๆได้
            2.สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่ให้บุตรหลานไปศึกษาที่สถานศึกษาเหล่านั้น
            3.ควรมีการศึกษาในเรื่อง กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
            4.สำรวจความคิดเห็นของชุมชนที่มีสถานศึกษามีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นเป็นประจำว่ามีผลกระทบต่อชุมชนนั้น หรือไม่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตนั้นมีความคิดเห็นอย่างไร






บทที่ 5 สรุปการดำเนินงานวิจัย อภิปรายผลการดำเนินการงานวิจัย



สรุปผลการวิจัย
            ในการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยทีมีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เพื่อศึกษาความรุนแรงของการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม การเก็บตัวอย่างใช้แบบสอบถามกับนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยวิธี Accidental Sampling จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
            กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่อายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.67 ผลการเรียนอยู่ในระดับ 3.51-4.00  คิดเป็นร้อยละ 56.67  พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 80.0 บิดามารดาอยู่ด้วยกัน         คิดเป็นร้อยละ90.0 ส่วนใหญ่บิดามีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 40.0 มารดามีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ40.0 ไม่เคยเสพยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 100.0 ไม่เคยมีประสบการณ์ในการพบเห็นหรือมีส่วนร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาท คิดเป็นร้อยละ 56.67 ส่วนใหญ่ในเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทไม่ได้ใช้อาวุธในการทะเลาะวิวาท คิดเป็นร้อยละ 86.67 ส่วนมากจะเกิดเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทในเวลากลางวัน คิดเป็น ร้อยละ 86.67 จำนวนคนที่ร่วมทะเลาะวิวาท 1-10 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 และได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากการทะเลาะวิวาทครั้งนั้นเป็นร้อยละ 96.67
สภาพครอบครัว และบรรยากาศของโรงเรียน
            กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสภาพครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (= 5.56) โดยมีสภาพครอบครัวใกล้ชิดกับผู้อาศัยและในครอบครัวที่การทะเลาะวิวาท มากที่สุด (= 7.33) บรรยากาศของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (= 5.24) โดยนักเรียนเห็นว่าโรงเรียนให้ความสำคัญบรรยากาศทางวิชาการ   มากที่สุด   (= 8.00)

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเรื่องทีมีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ตอนที่ 1  ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
ตอนที่ 2  การวิเคราะห์สภาพครอบครัวและบรรยากาศของโรงเรียน
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
ตารางที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
                                        ข้อมูลส่วนบุคคล         
จำนวน
(n=30)
ร้อยละ
1.  อายุ
16  ปี                                                                                                
17 ปี          
18 ปี            
 มากกว่า 18  ปี
2.เพศ
       ชาย      
      หญิง


3.ผลการเรียน
         1.50 – 2.00        
 2.01 – 2.50
 2.51 – 3.00        
 3.01 – 3.50
 3.51 – 4.00
4.ปัจจุบันพักอาศัยอยู่กับ
        บิดามารดา        
         บิดา หรือ มารดา
        ญาติ                  
         คนอื่น(ระบุ).....................
5.สถานภาพการสมรสของบิดามารดา
 อยู่ด้วยกัน        
 แยกกันอยู่
         หย่าร้าง            
         บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม
6.อาชีพของบิดา
 รับราชการ – พนักงานรัฐวิสาหกิจ     
 ลูกจ้างบริษัทเอกชน
         ประกอบธุรกิจส่วนตัว                                
         ทำการเกษตร
 รับจ้างทั่วไป                                              
ไม่ได้ประกอบอาชีพใด
อื่นๆ(ระบุ)...........................
7.อาชีพของมารดา
 รับราชการ – พนักงานรัฐวิสาหกิจ                  
 ลูกจ้างบริษัทเอกชน
 ประกอบธุรกิจส่วนตัว                                  
 ทำการเกษตร
 รับจ้างทั่วไป                                   
 ไม่ได้ประกอบอาชีพใด
        อื่นๆ(ระบุ).....................
8.ประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด
 เคย
 ไม่เคย
9.ท่านมีประสบการณ์ในการพบเห็นหรือมีส่วนร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาท
 ไม่เคย                   
 1 ครั้ง                   
 2 ครั้ง
 3 ครั้ง                   
 มากกว่า 3 ครั้ง



10.ท่านพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทมีการใช้อาวุธหรือไม่
 ไม่ได้ใช้อาวุธ         
 ใช้อาวุธ
11.ท่านพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นในเวลาใด
 กลางวัน    
กลางคืน
12.ท่านพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในเหตุการณ์จำนวนคนที่ร่วมทะเลาะวิวาทมีประมาณกี่คน
 1 – 10 คน  
 มากกว่า 10 คน
13.ท่านพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ผลจากการทะเลาะวิวาทมีคนได้รับบาดเจ็บ
 ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย (เช่น บาดแผลฟกช้ำ, บาดแผลรักษาไม่เกิน 20 วัน)
 ได้รับบาดเจ็บสาหัส (เช่น กระดูกแขนขาหัก, สูญเสียอวัยวะ, หน้าเสียโฉม, บาดแผลรักษาเกินกว่า 20วัน)

5
17
8
-

15
15



-
1
2
10
17

24
4
-
2

27
2
-
1

12
-
6
6
4
1
1

12
-
7
6
2
3
-

-
30

17
6
2
-
5





26
4

26
4


28
2


29

1


16.67
56.67
26.66
-

50
50



-
3.33
6.67
33.33
56.67

80
13.33
-
6.67

90
6.67
-
3.33

40
-
20
20
13.34
3.33
3.33

40
-
23.33
20
6.67
10
-

-
100

56.67
20
6.67
-
16.66





86.67
13.33

86.67
13.33


93.33
6.67


96.67

3.33


จากตารางที่ 1 สามารถอธิบายข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างได้ดังนี้
1.       อายุ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่อายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมา ได้แก่
อายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.66 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุดอายุ 16 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.67
2.       เพศ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 50.0 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50.0
3.       ผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่มีผลการเรียนระดับ 3.51-4.00 คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมา ได้แก่ ผลการเรียนระดับ 3.01-3.50 คิดเป็นร้อยละ 33.33 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ ผลการเรียนระดับ 2.01-2.50 คิดเป็นร้อยละ 3.33
4.       การพักอาศัย กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 80.0 รองลงมา ได้แก่ อาศัยอยู่กับบิดาหรือมารดา คิดเป็นร้อยละ 13.33 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ อาศัยอยู่คนอื่น คิดเป็นร้อยละ 6.67
5.       สถานภาพการสมรสของบิดามารดา กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็น     ร้อยละ 90.0 รองลงมา ได้แก่ บิดามารดาแยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ 6.67 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม คิดเป็นร้อยละ 3.33
6.       อาชีพของบิดา กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่บิดามีอาชีพรับราชการ-พนังงานรัฐวิสากิจ คิดเป็นร้อยละ 40.0 รองลงมา ได้แก่ บิดามีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวและทำการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 20.0  และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ บิดาไม่ได้ประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 3.33
7.       อาชีพของมารดา กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่มารดามีอาชีพรับราชการ-พนังงานรัฐวิสากิจ คิดเป็นร้อยละ 40.0 รองลงมา ได้แก่ มารดามีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 23.33  และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ มารดามีอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 6.67
8.       ประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่ ไม่เคยเสพ คิดเป็นร้อยละ 100.0
9.       ประสบการณ์ในการพบเห็นหรือมีส่วนร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาท กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่ ไม่เคย คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมา ได้แก่ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 20.0และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.67
10.   ในเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทมีการใช้อาวุธหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้อาวุธ       คิดเป็นร้อยละ 86.67 และใช้อาวุธ คิดเป็นร้อยละ 13.33
11.   ในเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นในเวลาใด กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่ ในเวลากลางวัน       คิดเป็นร้อยละ 86.67 และในเวลากลางคืน คิดเป็นร้อยละ 13.33
12.   ในเหตุการณ์จำนวนคนที่ร่วมทะเลาะวิวาทมีประมาณกี่คน กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่              ร่วมทะเลาะวิวาท 1-10 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 และมากกว่า 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67
13.   ในเหตุการณ์ผลจากการทะเลาะวิวาทมีคนได้รับบาดเจ็บ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่ ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 96.67 และได้รับบาดเจ็บสาหัส คิดเป็นร้อยละ 3.33




ตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพครอบครัวและบรรยากาศของโรงเรียน
ตารางที่2 สภาพครอบครัว
สภาพครอบครัว
มาก
ปานกลาง
น้อย
S.D.
ระดับ
14.สมาชิกในครอบครัวทีการทะเลาะวิวาทกันมากน้อยเพียงใด
15.บิดามารดา หรือผู้ปกครองยอมรับฟังความคิดเห็นท่านเพียงใด
16.ผู้ที่ท่านอาศัยอยู่ด้วยให้ความใกล้ชิดเพียงใด

17.บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้คำปรึกษาแก่ท่านเพียงใด
18.เมื่อกระทำผิด บิดามารดาหรือผู้ปกครองลงโทษเพียงใด
19.บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีอารมณ์สม่ำเสมอเพียงใด
3
(10.0%)
15
(50.0%)
21
(70.0%)
13
(43.33%)
6
(20.0%)
10
(33.34%)
6
(20.0%)
12
(40.0%)
8
(26.67%)
16
(53.33%)
16
(53.33%)
16
(53.33%)
21
(70.0%)
3
(10.0%)
1
(3.33%)
1
(3.33%)
8
(26.67%)
4
(13.33%)
7.33

4.67

7.33

6.00

4.00

4.00
9.64

6.24

10.15

7.94

5.29

6.00
มาก

ปานกลาง

มาก

มาก

ปานกลาง

ปานกลาง
รวม

5.56
7.54
ปานกลาง

            จากตารางที่ 2 ข้อมูลจากการวิจัยพบว่านักเรียนที่ทะเลาะวิวาทมีสภาพครอบครัวอยู่ในระดับ           ปานกลาง (= 5.56) โดยมีสภาพครอบครัวใกล้ชิดกับผู้อาศัยและในครอบครัวที่การทะเลาะวิวาท มากที่สุด (= 7.33) รองลงมาได้แก่ การให้คำปรึกษาของผู้ปกครอง (= 6.00)







ตารางที่ 3 บรรยากาศของโรงเรียน
บรรยากาศของโรงเรียน
มาก
ปานกลาง
น้อย
S.D.
ระดับ
20.โรงเรียนมีบรรยากาศทางวิชาการ เช่น ห้องสมุด อุปกรณ์การเรียน เหมาะแก่การเรียนหนังสือเพียงใด
21.โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องระเบียบวินัยเพียงใด
22.โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องผลการเรียนเพียงใด
23.โรงเรียนมีการแก้ไขปัญหาเมื่อมีการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมากเพียงใด
24.เมื่อนักเรียนทำผิด อาจารย์ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความก้าวร้าวเพียงใด
25.นักเรียนในโรงเรียนของท่านก่อเหตุทะเลาะวิวาทในโรงเรียนบ่อยเพียงใด
26.เมื่อนักเรียนมีปัญหาการทะเลาะกับเพื่อนในสถาบันเดียวกัน ฝ่ายปกครองแก้ปัญหาด้วยความเป็นธรรมเพียงใด
7
(23.33%)

7
(23.33%)
10
(34.33%)
4
(13.33%)
8
(26.67%)
5
(16.66%)
9
(30.0%)
22
(73.34%)

15
(50.0%)
16
(53.33%)
20
(66.67%)
17
(56.67%)
20
(66.68%)
15
(50.0%)
1
(3.33%)

8
(26.67%)
4
(13.33%)
6
(20.0%)
5
(16.66%)
5
(16.66%)
6
(20.0%)
8.00


3.33

4.00

6.67

4.67

6.67

3.33
10.82


4.36

6.00

8.72

6.24

8.66

4.58
มาก


น้อย

ปานกลาง

มาก

ปานกลาง

มาก

น้อย
รวม

5.24
7.05
ปานกลาง

          จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่ทะเลาะวิวาทมีบรรยากาศของโรงเรียนอยู่ในระดับ        ปานกลาง (= 5.24) โดยนักเรียนเห็นว่าโรงเรียนให้ความสำคัญบรรยากาศทางวิชาการ   มากที่สุด   (= 8.00) รองลงมาเป็นการแก้ไขปัญหาเมื่อนักเรียนมีการทะเลาะวิวาท (= 6.67)