วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 2: เอกสารที่เกี่ยวข้อง


การศึกษาเรื่องปัจจัยการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  เกิดความสนใจว่าทำไมนักเรียนเหล่านี้เกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่ไม่ดี มีนิสัยเกเร ก่อการทะเลาะวิวาท ซึ่งพฤติกรรมหรือการกระทำผิดของนักเรียนเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะเปลี่ยนไปสู่การกระทำที่เป็นอาชญากรรมก็ได้ ดังนั้นผู้วิจัยได้กำหนดเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาดังต่อไปนี้
1). เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความหมายของวัยรุ่น
2.) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรุนแรง
2.1) ความหมายของพฤติกรรมความรุนแรง
2.2) ประเภทของพฤติกรรมความรุนแรง (Typology of Violence)
2.2.1) ความรุนแรงในวัยรุ่น
2.2.2) ความรุนแรงต่อตนเอง (Self-directed Violence) 
3) สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรง
3.1) สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว
3.2) สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
3.3) สาเหตุความรุนแรงทางสังคม
4) แนวทางป้องกันพฤติกรรมความรุนแรง

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความหมายของวัยรุ่น
มีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับวัยรุ่นไว้ ดังต่อไปนี้
คําว่า วัยรุ่นในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Adolescence” มาจากภาษาลาตินว่า “Adolescer”หมายความว่า “To Grow in to Maturity” แปลว่า การเจริญเติบโตสู่วุฒิภาวะหรือเป็นวัยที่พัฒนามาจาสภาวะความเป็นเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เฮอร์ลอค (Hurlock.1973:391)
โครว์ (Crow.1961:113) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่นว่า การเจริญเติบโตอันเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ เด็กจะพัฒนามาจากการพึ่งพิงผู้ใหญ่ไปสู่ความเป็นอิสระอย่างเห็นได้ชัดในทุกๆด้าน และการที่เด็กจะบรรลุถึงขั้นวุฒิภาวะนั้นมิใช่เจริญเติบโตแต่เพียงด้านร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น ทางด้านจิตใจก็เจริญเป็นเงาตามไปด้วย นั่นคือต้องมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ศรีเรือน แก้วกังวาล (2545:329) ให้คําจํากัดความของวัยรุ่นว่า เป็นวัยที่มีพัฒนาการลักษณะเด่นในด้านต่างๆ ทุกด้าน เช่น ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก และเห็นได้ชัดเจน วัยรุ่นมีความแตกต่างจากวัยอื่นๆ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมากในทุกด้านของพัฒนาการ 

2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรุนแรง
2.1 ความหมายของพฤติกรรมความรุนแรง
                    ปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงทั้งต่อตนเอง และต่อผู้อื่นไม่เคยหมดไปจากสังคม หรืออาจ
กล่าวได้ว่ามีเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ก่อผลเสียหายมากมายต่อชีวิต และเป็นภัยคุกคามต่อความสงบสุขของสมาชิกในสังคมไม่ว่าจะเป็น เชื่อชาติใด วัฒนธรรมใด ล้วนมีความกังวลต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ดังจะมีผู้ให้ความหมายที่หลากหลายต่อพฤติกรรมความรุนแรง ดังต่อไปนี้
ดอลลาร์ท และคนอื่นๆ (Citing Dollard; et al.1939; Reiso & Roth.1993: 35) กล่าวว่า พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงที่มีต่อความรุนแรงระหว่างบุคคลได้ถูกให้คําจํากัดความว่าเป็นพฤติกรรมของบุคคลที่ ต่อสู้กับบุคคลอื่น ซึ่งตั้งใจหรือพยายามที่จะคุกคาม หรือทําให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บทุกข์ทรมานอย่างแท้จริง พฤติกรรมเหล่านี้ถูกรวมอยู่ในคําจํากัดความที่กว้างกว่าคําจํากัดความของความก้าวร้าว
บาร์เดน (Barden. 1994: 94) ให้ความหมายว่า การใช้กำลังทางกายหรือพลังอำนาจในการคุกคามผู้อื่น ให้บาดเจ็บทางกายหรือทางจิตใจ หรือทําให้รู้สึกขาดความปลอดภัยรวมถึงการเมินเฉยและการละเลยด้วย
พรดี ลิมปรัตนากร (2547:44) ให้ความหมายว่า พฤติกรรมความรุนแรง หมายถึง การกระทําที่      เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางร่างกาย วาจา และจิตใจ ต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่มคน หรือชุมชน อย่างจงใจ โดยการบังคับ ขู่เข็ญ ทําร้าย ทุบตี คุกคาม กีดกันเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในการดําเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บ การตาย ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจแก่ผู้ถูกกระทํา
ในคํานิยามนี้ ได้ครอบคลุมทั้งอันตรายต่อจิตใจและทําให้เกิดการพัฒนาไปในทางที        ไม่ดี เช่น การบาดเจ็บและการเสียชีวิต
2.2 ประเภทของพฤติกรรมความรุนแรง (Typology of Violence)
       ประเภทของพฤติกรรมความรุนแรง ผู้วิจัยได้นําเสนอเฉพาะความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อาจแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้
2.2.1 ความรุนแรงในวัยรุ่น
       ความรุนแรงในวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจํานวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน  เด็กวัยรุ่นใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตายกลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนําไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจํานวนมากขึ้นนอกจากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลา
ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สําคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทําในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คํานึงผลที่จะเกิดตามมาในอนาคตซึ่งเป็นสาเหตุนําไปสู่การมี
พฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย

2.2.2 ความรุนแรงต่อตนเอง (Self-directed Violence) 
 องค์การอนามัยโลก (2002: 20) ให้ความเห็นว่าความรุนแรงต่อตนเอง (Self-directed Violence) เป็นความรุนแรงที่กระทําต่อตนเองโดยตรง ได้แก่พฤติกรรมฆ่าตัวตาย และ การทําร้ายตนเอง ครอบครัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่สําคัญที่ทําให้วัยรุ่นฆ่าตัวตัว กล่าวคือพ่อ แม่มีความขัดแย้งกันทะเลาะกันอยู่เสมอ สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวไม่ดี ครอบครัวไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพตามความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้
           
3. สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรง
             สาเหตุของการใช้พฤติกรรมความรุนแรงอาจจําแนกสาเหตุตามประเภทของการใช้ความรุนแรงได้ดังต่อไปนี้
3.1 สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว
                    ครอบครัวคือรากฐานของทุกชีวิต บุคคลจะมีพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคมที่ ดีได้ เกิดจากประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก ครอบครัวจึงเป็นสังคมแรกของเด็กที่จะเรียนรู้ และขัดเกลาทาสังคม จนเมื่อถึงวัยที่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษาพ่อ แม่ก็ยังต้องให้ความรัก ความห่วงใย คอยแนะแนวทางความประพฤติที่ดีให้กับลูก แต่การที่เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมีความก้าวร้าว ต่อผู้อื่นก็ได้รับระสบการณ์ที่รุนแรงจากครอบครัวมาก่อน ดังต่อไปนี้
อรอนงค์  อินทรวิจิตร และ นรินทร์ กรินชัย (2542: 7-10) ได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวไว้ 3 ประการดังนี้
1. ขาดความพร้อมในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล กล่าวคือ การที่บุคคลไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักความเข้าใจ ความเมตตาและเอื้ออาทรต่อกันในฐานะเป็นสมาชิกในครอบครัว หรือการที่บุคคลเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ชอบแสดงพฤติกรรมที่        รุนแรงต่อกัน ทั้งทางกาย วาจา และมีเจตคติในทางลบต่อเพศตรงข้ามซึ่งเป็นความรุนแรงที่ซ่อนเร้น ทําให้เกิดการดูดซับเอาพฤติกรรม การกระทําการใช้วาจา และความคิดนําไปสู่การเบียดเบียนและเอาเปรียบทางเพศ



2. ความเจ็บป่วยทางจิตใจ อาการทางจิตและทางประสาทและตกเป็นทาสของสุราหรือสารเสพติด
อื่นๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่นําไปสู่พฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัวและสังคมไทยโดยส่วนรวม เช่น การฆ่าทําร้ายบุตร ภรรยา เป็นประจําเมื่อมีอาการมึนเมา หรือยาบ้าออกฤทธิ์ หรือเกิดอาการประสาทหลอน บางกรณีฆ่าตัวตายและฆ่าผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
            3. สาเหตุจากครอบครัว มีหลายปัจจัย ได้แก่
                         3.1 ลักษณะครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยวอยู่กันตามลําพังแยกจากคนอื่น และมีการควบคุมโดยสังคมน้อย หรือไม่มีใครมายุ่งกับครอบครัวเลย ลักษณะแบบนี้จะเกิดความรุนแรงได้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นโดยปราศจากความพร้อม
                          3.2 ครอบครัววิกฤต มีภาวะที่สมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต พิการทุพพลภาพกะทันหัน ภาวะการตกงาน การทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจํา
                        3.3 ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ยากจน ขาดแคลน เป็นหนี้สิน หรือธุรกิจล้มละลาย
                        3.4 ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของชีวิตสมรสและการเป็นพ่อแม่ได้แก่ ครอบครัวที่มี
ลูกมาก พ่อแม่จะประณามลูกว่าลูกเป็นต้นเหตุของความยากลําบาก และความขัดสนต่างๆ แม่ที่ทุกข์ทรมานมากเมื่อตั้งครรภ์และคลอด อาจเกลียดเด็กและทําทารุณต่อเด็กได้ พ่อแม่ที่ไม่เข้าใจจิตวิทยาและความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก จะโกรธลูกเสมอหงุดหงิดและทําร้ายเด็ก เด็กจะเป็นเป้าและถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของความยุ่งยากและปัญหาต่างๆ ในครอบครัว และทําให้สมาชิกในครอบครัวเครียด
3.2 สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
       สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้
ปัจจัยเสี่ยงของความรุนแรงในวัยรุ่น องค์การอนามัยโลก (2002: 17) ได้ให้ความเห็นไว้ 2ประการคือ
            1. ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมของวัยรุ่น ได้แก่ ธรรมชาติของวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความมุทะลุใจเร็ว หุนหัน ก้าวร้าว เป็นต้นขาดการควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม
ด้อยต่อการศึกษา มีปัญหาขาดการดูแลเอาใจใส่ และมีประสบการณ์ในการทําร้ายผู้อื่        นมีเจตคติความเชื่อที่ผิดมีประสบการณ์ถูกทําโทษทางกายหรือเคยพบเห็นความรุนแรง
2. ปัจจัยครอบครัวและคนใกล้ชิด สิ่งแวดล้อมทางครอบครัวเป็นปัจจัยที่สําคัญในการพัฒนาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ได้แก่
         2.1 บิดามารดาผู้ปกครองขาดการดูแลเอาใจใส่ควบคุมตั้งแต่เด็กและใช้การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง หยาบคาย
                        2.2 บิดามารดามีความขัดแย้งกัน ครอบครัวขาดความสัมพันธ์ความผูกพันกัน มักมีการทําร้ายกันในบ้าน
                        2.3 มารดามีบุตรเมื่ออายุยังน้อย
         2.4 มีประสบการณ์ที่บิดามารดาแตกแยกหรือหย่าร้างกันตั้งแต่วัยเด็ก
                                 2.5 คบเพื่อนไม่ดี

3.3 สาเหตุความรุนแรงทางสังคม
      องค์การอนามัยโลก (2002: 17) ได้ให้ความเห็นว่าสาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงทางสังคม ปัจจัยชุมชนและสังคมเป็นปัจจัยที่นําไปสู่ความรุนแรงและ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ได้แก่
             1. การรวมกลุ่มเป็นแก๊งของวัยรุ่น มีการจัดหาอาวุธปืน ยา และใช้กําลังต่อสู้กันระหว่างกลุ่ม
2. มีสื่อที่ปรากฏให้เห็นความรุนแรงและความก้าวร้าว
3. ขาดความร่วมมือประสานงานและความสัมพันธ์ของชุมชนอยู่ ในระดับต่ำ เป็นชุมชนเมืองใหญ่ที่ ต่างคนต่างอยู่ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันชุมชนมีการทําร้ายฆาตกรรมกันสูงมีความยากจน เมืองที่ไม่มีความสงบ จลาจล หรือสงคราม มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
4. ประเทศที่มีการปกป้องสิทธิมนุษยชนต่ำ ความแตกต่างของชนชั้นสูง วัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดความรุนแรง

5.แนวทางป้องกันพฤติกรรมความรุนแรง
ปัญหาความรุนแรงในสังคม เป็นปัญหาเรื้อรังทีมีคู่กับคนในสังคมมายาวนาน สร้างความเสียหายให้กับชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเหยื่อ และผู้ใกล้ชิดในครอบครัว ที่ประเมินค่าไม่ได้ หลายหน่วยงานร่วมรณรงค์ ต่อต้านความรุนแรงต่อสตรี และเด็ก แต่ในปัจจุบันความรุนแรงในสังคมก็ยังไม่ได้ลดลงไป นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความคิดเห็นในการป้องกันปัญหาความรุนแรงดังต่อไปนี้
องค์การอนามัยโลก (2002: 25-29) ซึ          งแบ่งเป็นการป้ องกัน 4 ด้านดังนี้
1.การป้องกันด้านตัวบุคคลการป้องกันที่ตัวบุคคลมีจุดประสงค์สองประการ คือ ประการแรกต้องสนับสนุนและเสริมสร้างเจตคติและพฤติกรรมที่ดีในเด็กและวัยรุ่นเพื่อเป็นการป้องกันก่อนที    จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมความรุนแรง ประการที่สองเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมในบุคคลที่ก่อความรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่จะใช้ความรุนแรง
2. การป้องกันทางด้านความสัมพันธ์ของบุคคลเป็นการป้องกันในระดับครอบครัว คือ ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีงามของครอบครัว และแก้ไขสัมพันธภาพที่ไม่ถูกต้องในครอบครัว อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อและผู้กระทําความรุนแรง เช่น ความขัดแย้งในชีวิตแต่งงาน การขาดความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างบิดามารดาผู้ปกครองและเด็ก และอิทธิพลทางลบจากผู้ใกล้ชิดหรือเพื่อน
3. การป้องกันทางด้านชุมชนเป็นการสร้างความรับรู้และตื่นตัวเรื่องความรุนแรงให้แก่สังคม กระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมแก้ปัญหา และส่งเสริมให้มีระบบดูแลเหยื่อที่ได้รับความรุนแรง
4. การป้องกันทางด้านสังคม เป็นการป้องกันที่มีเป้าหมายไปที่ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย สังคมโดยรวมและวัฒนธรรมความเชื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น