วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อเสนอแนะ


ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้
            ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการทเลาะวิวาทของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ดังนี้
    1.จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 80.0 อยู่ด้วย บิดาหรือมารดา คิดเป็นร้อยละ13.33 สภาพครอบครัวใกล้ชิดกับผู้อาศัยและในครอบครัวที่การทะเลาะวิวาท มากที่สุด (= 7.33) ดังนั้นควรมีการแก้ไขในด้านสภาพครอบครัว คือ
1.1.สมาชิกในครอบครัวต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีความเข้าใจถึงธรรมชาติของวัยรุ่นสามารถให้คำปรึกษาได้เมื่อเด็กมีปัญหา และคอยเอาใส่สอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เมื่อเด็กมีทัศนคติที่ดีต่อสถาบันครอบครัวย่อมเป็นพลังที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจของเด็กไว้
1.2.เมื่อนักเรียนมีปัญหาการทะเลาะวิวาท บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ควรให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และติดตามผลการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
    2.จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่โรงเรียนให้ความสำคัญบรรยากาศทางวิชาการ มากที่สุด              (= 8.00) และมีการทะเลาะวิวาทกันค่อนข้างมากจึงควรมีมาตรการป้องกัน คือ
2.1สถานศึกษาประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจถึงโทษทางอาญาของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท และให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2.2มีการลงโทษนักเรียนที่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
            2.3ครู อาจารย์ เมื่อทราบว่านักเรียนถูกทำร้าย ควรเข้าไปให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกัน                                                          การแก้แค้น



    3.จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีนักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทมากกว่า 3 ครั้ง ถึงร้อยละ 16.66 และมีกาได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จากการทะเลาะวิวาทถึงร้อยละ 96.67 ซึ่งอาจเนื่องมาจากมาตรการในการปฏิบัติของครูฝ่ายปกครองไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องแก้ไขโดย
            3.1ครูฝ่ายปกครองต้องกวดขันดูแลปัญหาการทะเลาะวิวาทอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
            3.2การทะเลาะวิวาทมีความรุนแรงขึ้น และนักเรียนใกล้เคียงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จึงต้องมีการลงโทษผู้กระทำผิดตามที่กฎกำหนดไว้อย่างเฉียบขาด
            3.3ในกรณีที่มีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทแต่ไม่มีผู้ได้รีบบาดเจ็บ ควรจะมีมาตรการในการลงโทษด้วยการนำเด็กที่ร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาทไปทำกิจกรรมร่วมกัน หรือฝึกอบรมร่วมกัน หรือให้ทำงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมร่วมกัน
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
            1.ศึกษาวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุของการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเพื่อนำมาแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทต่างๆได้
            2.สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่ให้บุตรหลานไปศึกษาที่สถานศึกษาเหล่านั้น
            3.ควรมีการศึกษาในเรื่อง กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
            4.สำรวจความคิดเห็นของชุมชนที่มีสถานศึกษามีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นเป็นประจำว่ามีผลกระทบต่อชุมชนนั้น หรือไม่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตนั้นมีความคิดเห็นอย่างไร






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น