วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 3: วิธีการดำเนินงาน


การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยทีมีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
        1.การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร  (Documentary Research) ในส่วนนี้เป็นการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยได้ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดจากหนังสือ เว็บไซต์ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานอ้างอิงในการศึกษา
        2.การศึกษาภาคสนาม (Field Research) โดยออกแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนม.5 ที่อยู่ในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ได้กำหนดไว้ เพื่อศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกันของนักเรียนในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่เคยและไม่เคยพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาททั้งทางตรงและทางอ้อม มีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 605 คน
กลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยครั้งนี้ เลือกนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่เคยและไม่เคยพบเห็นหรือมีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาททั้งทางตรงและทางอ้อมจำนวน 30 คน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5ทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามมาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยอาศัยแนวความคิดทฤษฎี ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดในการสร้างเป็นขั้นตอนดังนี้
    ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่5โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เช่น อายุ ผลการศึกษา อาชีพของบิดามารดา ฯลฯ
    ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
    ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับสภาพครอบครัว
    ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับบรรยากาศของโรงเรียน
ลักษณะข้อคำถามในเรื่องสภาพครอบครัว บรรยากาศของโรงเรียน และความประพฤติของเพื่อน   แต่ละข้อคำถามมีตัวเลือกให้เลือก 3 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ
มาก                  3          คะแนน
ปานกลาง           2          คะแนน
น้อย                  1          คะแนน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะใช้วิธีการสอบถามเป็นรายบุคคล โดยสอบถามนักเรียนม.5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมทั้งที่เคย และ ไม่เคย พบเห็นหรือมีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาททั้งทางตรงและทางอ้อม
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้เก็บข้อมูลมาแล้ว ผู้วิจัยจะตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล แล้วนำไปประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.หาค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ในการอธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยหาค่าร้อยะ และใช้พรรณนากลุ่มตัวอย่าง ซึ่งในบางครั้งไม่สามารถวัดพฤติกรรมทัศนคติหรือคุณลักษณะบางอย่างได้โดยตรง แต่อาจคิดเป็นร้อยละได้โดยการประมาณจากตัวอย่างหรือข้อมูลที่มีอยู่เพื่อดูการกระจายของตัวแปร
2.การทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square Test) เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ทดสอบความสัมพันธ์กัน เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น