วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1 :บทนำ



ความเป็นมาและความสำคัญ

เยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่ควรให้ความสําคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพในอนาคต ปัญหาสําคัญที่ประเทศไทยกําลังประสบอยู่ และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขื้นเเละส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาของชาติ คือ ปัญหาการทําร้ายร่างกายหรือก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาอาชญากรรมร้ายเเรงทําลายความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยส่วนรวม และเป็นปัญหาอาชญากรรมที่ท้าทายต่อการบังคับ          ใช้อํานาจรัฐเป็นอย่างยิ่งและปัญหาจากการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน ดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่ใด้รับความสนใจในหมู่นักสังคมวิทยา และนักสังคมศาสตร์ทั่วไปเป็นอย่างมาก โดยเห็นไดัจากแนวทฤษฎี   ต่าง ๆ เพื่อใช้อธิบายถึงสาเหตุเเห่งการกระทําดังกล่าว ได้ถูกสร้างขึ้นเเละพัฒนาต่อมามีอยู่เป็นจํานวนมาก  ทฤษฎีเหล่านี้ได้อธิบายถึงพฤติกรรมของผู้กระทําผิดของนักเรียนอย่างเป็นลำดับ
โดยเฉลี่ยนักเรียนนักศึกษาจะมีอายุระหว่าง 16-20 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอบปลายเเละเป็นวัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนเเปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งต้องปรับตัวมากเพราะเป็นวัยที่กําลังพ้น      สภาพความเป็นเด็กก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าหากชวนกันทะเลาะวิวาทอันเป็นปัญหาก่อความเดือดร้อน  ให้แก่ชุมชน โดยทั่วไปวัยรุ่นชอบคบหาสมาคมกับเพื่อน และเห็นว่าเพื่อนเป็นสิ่งที่จําเป็นและจะขาดเสียไม่ได้ การกระทำทุกอย่างมักต้องอาศัยเพื่อน ปัญหาจึงปรากฏอยู่เสมอว่าถ้าหากไปรวมกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ดี  ก็อาจจะนำไปในทางที่เสียหาย แม้เด็กบางคนจะไม่อยากทําอะไรที่ไม่ดี แต่เมื่อเพื่อนพูดสบประมาทหรือกลัวว่าเพื่อนจะโกรธจนต้องยอมปรับตัวเข้ากับเพื่อน ก็อาจทําอะไรไม่ดีไม่ด้วย ดังจะเห็นใด้จากการก่อการทะเลาะวิวาทกับ เป็นต้น
ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษามีมานานเเล้ว เเต่มักจะออกมาในรูปของการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันเเละกันเป็นประจํา ซึ่งเรื่องนี้จะพบว่าการก่อเหตุทะเลาะวิวาทกัน ส่วนใหญ่จะก่อเหตุกันทั้งในและนอกสถานศึกษาของกลุ่มที่ก่อการทะเลาะวิวาทกันดังกล่าว ซึ่งการปะทะกันอาจมีทั้งกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ ในบางครั้งมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน ส่วนมากจะอ้างเหตุผลว่าเป็นการพกพาอาวุธเพื่อป้องกันตัว เเละอาวุธส่วนใหญ่ที่พบจะมีลักษณะต่างๆ เช่น มีการดัดแปลงอุปกรณ์การเรียนมาใช้เป็นอาวุธ เช่น ไม้บรรทัดเหล็ก มีดคัตเตอร์ ไม้ที สําหรับอาวุธร้ายแรงที่พบ เช่น วัตถุระเบิด อาวุธปืนปากกา ปืนพก โดยมีการจัดเตรียมอาวุธดังกล่าวไว้เพื่อทําร้ายซึ่งกันเเละกันจนได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับเสียชีวิต ซึ่งผลจากการทะเลาะวิวาทดังกล่าว
 
ดังเช่น บาร์เดน (Barden.1994.38) ได้กล่าวว่า ความรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อนและ  มีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้าน ซึ่งปัจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรง ได้แก่ ปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของกลุ่มวัยรุ่น สอดคล้องกับ บัณฑิต ศรไพศาล(2008:ออนไลน์) กล่าวว่า ความรุนแรงของวัยรุ่น    เริ่มมีสถิติสูงขึ้น โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนตัวของวัยรุ่นที่ใช้ความรุนแรง สิ่งเร้าทางสังคม สื่อ และเกมส์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง รวมทั้งสาเหตุสำคัญคือการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว นอกจากนี้ อุมาพร ตรังสมบัติ(2549:1) ศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในวัยรุ่นไทยพบว่าสาเหตุการเกิดความรุนแรง เกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนตัวของวัยรุ่นเอง เช่น ค่านิยม และทัศนคติที่นิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ร่วมไปกับค่านิยมเรื่องศักดิ์ศรี เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกถูกท้าทายศักดิ์ศรี ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมความรุนแรงขึ้นมา มักเป็นความโกรธ การควบอารมณ์ตนไม่ได้ และถูกเพื่อนชักชวนให้กระทำผิด
จากปัญหาความรุนแรงที่กล่าวมาข้างต้นนั้นได้ส่งผลกระทบทั้งต่อตัววัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจ และส่งผลต่อครอบครัว ตลอดจนผู้ใกล้ชิด และมีแนวโน้มว่าพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นจะสูงขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงทำให้คณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษา     ถึงปัจจัยและสาเหตุความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น ทั้งนี้จะช่วยให้สามารถเข้าถึงสาเหตุของปัญหา และแนวทางให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
            1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
            2.เพื่อศึกษาความรุนแรงของการทะเลาะวิวาทและแนวทางการแก้ไขของนักเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทําให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
2. ทําให้ทราบถึงความรุนเเรงของการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
3. เป็นแนวทางในการหามาตรการป้องกัน เเก้ไข สาเหตุที่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทของนักเรียน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.การศึกษาครั้งนี้ศึกษานักเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
จำนวนทั้งหมด 605 คน นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 30 คน
2.โดยกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพศชายหรือเพศหญิง
ที่กําลังศึกษาในสายวิทย์หรือศิลป์ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

นิยามศัพท์เฉพาะ
การทะเลาะวิวาท หมายถึง การเข้าประทุษร้ายกับของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไประหว่างนักเรียน ซึ่งอันเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจหรืออันตรายสาหัส
สภาพครอบครัว หมายถึง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและกับบุคคลที่นักเรียนพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นการให้ความใกล้ชิด การให้คําปรึกษา การให้ความยุติธรรม การลงโทษเมื่อกระทําผิด
ความประพฤติของเพื่อน หมายถึง พฤติกรรมเพื่อนของในการปฎิบัดิตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา ที่มีลักษณะเป็นการชักนําไปสู่การกระทําผิดหรือบุคลิกภาพที่แสดงออกต่อกลุ่มเพื่อน
อาวุธ หมายถึง สิ่งที่เป็นอาวุธโดยสภาพ สามารกใช้ทําอันตรายเเก่ชีวิต ร่างกายได้ เเละหมายความรวมถึง สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา1 (5) เช่น วงเวียน
            บาดเจ็บเล็กน้อย หมายถึง ได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เเละไม่ถึงกับเกิดอันตรายเเก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 คือบาดเจ็บเป็นบาดแผลฟกซ้ำ หรือบาดเเผลมีเลือดออกแต่ไม่ถึงกับใด้รับอันตรายสาหัส
            บาดเจ็บสาหัส หมายถึง ได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 คือ ได้รับบาดเจ็บดังนี้ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียฆานประสาท เสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์ เสียเเขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะอื่นใด หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว จิตพิการอย่างติดตัว ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ใด้เกินกว่ายี่สิบวัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น